svalyava.org Under Armour ภายใต้การบริหารของ เควิน แพลงค์
ในอดีต บริษัทผลิตเสื้อผ้า และ อุปกรณ์กีฬา มักสนแค่การทำชุด สำหรับแข่งที่ดีเท่านั้น แต่กลับไม่ค่อยมีใครสนใจ ผลิตชุดสำหรับฝึกซ้อม เพราะ คิดว่ายากจะถอนทุนได้ นักกีฬาจึงต้องใส่เสื้อเก่า ๆ เหม็นอับ เนื้อผ้าไม่ค่อยดี และ ดูดซับเหงื่อได้น้อย นั่นทำให้ เควิน แพลงค์ อยากปฏิวัติวงการ และ ปรับปรุงให้การออกกำลังกาย และ การเล่นกีฬาให้ความรู้สึกที่ดีมากกว่านี้
แพลงค์ ในวัย 23 ปี ศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจเสื้อผ้า และ อุปกรณ์กีฬาอย่างจริงจัง เขาเริ่มต้นบริษัท Under Armour เมื่อวันที่ 25 กันยายน ปี 1996 ชื่อบริษัทมีจุดเริ่มต้น จากพี่ชายคนหนึ่งของแพลงค์ ที่พูดขึ้นมาลอย ๆ แพลงค์ไม่แน่ใจว่าพี่ชายแค่แซว หรือ ต้องการอะไร แต่ชื่อก็ติดหูไม่น้อย เขาจึงเลือกใช้ชื่อนี้เสียเลย
ส่วนออฟฟิศ ก็ได้ชั้นใต้ดินของบ้านคุณยายของเขา เป็นฐานทัพ ในการควานหาผ้าเนื้อดี มีความยืดหยุ่น มาใช้ในการทำเสื้อกีฬา เพราะ เขาต้องการ ให้นักกีฬาที่ใช้ผลิตภัณฑ์ Under Armour รู้สึกสบายตัวเวลาออกไปแข่งกีฬาตอนร้อน ๆ
แพลงค์ ใช้เวลา พักใหญ่สำหรับการออกแบบ เสื้อต้นแบบ เป็นเสื้อเอวลอย มาพร้อม เนื้อผ้าไมโครไฟเบอร์ ที่มีความยืดหยุ่น จากนั้น จึงส่งไปให้เพื่อนร่วมทีม ในมหาวิทยาลัย รวมถึงเพื่อนที่ได้ไปแข่งใน NFL ได้ทดลองใช้
จากก้าวเล็ก ๆ นำไปสู่ก้าวที่ไกลกว่าเดิม หลังเห็นกระแส ในหมู่นักกีฬามือสมัครเล่น เป็นไปด้วยดี ทีมแอตแลนต้า ฟัลคอนส์ ทีมอเมริกันฟุตบอลอาชีพ ในลีก NFL เจ้าของสมญานาม “นกสกปรก” จึงติดต่อ ขอนำผลิตภัณฑ์ไปลองให้ผู้เล่นสวมใส่ดูบ้าง ซึ่งก็ได้ผลตอบรับที่ดี ไม่แพ้กัน เกิดกระแส บอกกัน ปากต่อปาก จากอีกทีม สู่อีกทีม จนเกือบจะทุกทีม ต้องขอลองพิสูจน์ แน่นอนว่าเสื้อของ Under Armour ไม่ทำให้ใครผิดหวัง
เมื่อสินค้า เป็นที่จดจำในตลาด แพลงค์ ก็ยิ่งมีกำลังใจ ในการผลิตของดี มีคุณภาพออกมาขายมากกว่าเดิม “ใครก็ตาม ที่ผลิตของดีที่สุดออกมาจะเป็นฝ่ายชนะ และ ผมเชื่อว่าสินค้าที่ดีที่สุดคือสินค้าของเรา” และ ต่อให้แบรนด์ของเขาจะสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ได้แล้ว
เขาก็ตั้งใจว่า จะไม่ลดทอนคุณภาพของสินค้าลงโดยเด็ดขาด “เราไม่สามารถแปะโลโก้บนผลิตภัณฑ์ และ หวังว่าผู้บริโภคจะซื้อไปเพราะเขาแค่ชอบโลโก้เพียงอย่างเดียว คุณจะไม่มีวันเห็นเราทำแบบนั้นแน่นอน
Under Armour ไม่เคยหยุดพัฒนา สิ่งไหนที่ดีอยู่แล้ว จะต้องพัฒนาให้ดีขึ้น หากมีคำติจากลูกค้า ก็จะนำมาวิเคราะห์ และ ปรับปรุงต่อไป หากมีช่องทางไหนสามารถเติบโตได้มากกว่าเดิม เขาก็จะลุยเต็มที่
จากที่สนใจตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เขาค่อย ๆ หาช่องทางให้ “อาณาจักรชุดเกราะ” ขยายเติบโต ในตลาดโลก โดยไปพร้อมประเภทกีฬาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อเมริกันฟุตบอล เพื่อสร้างฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น
แพลงค์เลือก “ฟุตบอล” ด้วยการทำสัญญา เป็นสปอนเซอร์ให้กับ ทีมฟุตบอล ทอตแนม ฮอตสเปอร์ เป็นต้น และ ยังเป็นผู้สนับสนุนหลักของ แอนดี้ เมอร์เรย์ นักเทนนิสชาวอังกฤษด้วย
พร้อมกับ ขยายตัวเองไปอีกขั้น ด้วยการทำเสื้อผ้าลำลองให้ทุกคนสวมใส่ออกไปเที่ยว และ ทำกิจกรรมนอกบ้าน และ เมื่อมีผลกำไรมากขึ้น แพลงค์ ก็นำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้ในการผลิตสินค้า ทำให้ ไม่เพียงผลิตได้รวดเร็วขึ้น แต่ยังได้สินค้าที่มีนวัตกรรมเพิ่มขึ้น
จนกระทั่ง ปี 2019 แพลงค์ ก็ประกาศถอนตัวจากการเป็นซีอีโอ พร้อมส่งไม้ต่อให้ แพทริค ฟริสค์ (Patrik Frisk) มือขวาของเขา ซึ่งมีประสบการณ์ในแวดวงธุรกิจอุปกรณ์กีฬา มากว่า 30 ปี ติดตามกันต่อไปว่า Under Armour ภายใต้การบริหารงานของทีมชุดใหม่จะพาแบรนด์ไปในทิศทางใด
————————————————————————
สมัคร โปรโมชั้นภายในเดือนนี้ รับโบนัสร้อนแรง แอดเลย ที่ line: @iprobet168
This content is restricted to site members. If you are an existing user, please log in. New users may register below.